สัตว์ปีก » ไก่แจ้ » การสร้างโรงเรือนหรือกรงและลานสำหรับเลี้ยงไก่แจ้

การสร้างโรงเรือนหรือกรงและลานสำหรับเลี้ยงไก่แจ้

7 กันยายน 2014
7492   0

การสร้างโรงเรือนเล้าไก่นั้น เพื่อกันแดด กันฝน กันศัตรูที่จะมาทำร้ายไก่ อันนี้ถือเป็นวัตถุประสงค์หลัก และเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย สวยงาม

กรงไก่นั้นเราสามารถสร้างได้หลายแบบ่เช่น แบบคอนโดมิเนียม แบบยกกรงลอย ๆ พื้นเตี้ย ๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรืออาจทำแบบให้คนสามารถเดินเข้าไปดูแลภายในได้ ก็ทำได้เช่นกัน แต่ถ้าเลือกแบบสุดท้ายก็ต้องมีการวัดขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานเช่น ความสูงควรจะกำหนดให้อยู่ที่ประมาณ 1.50-1.80 เมตร เพื่อไม่ให้ต่ำเกินไปจนต้องก้มเวลาเข้าไปดูแลหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนเกิดความไม่สะดวก หรือหากคิดที่จะสร้างกรงที่มีลักษณะติดพื้น ก็ควรจัดสรรด้วยการทำเป็นแบบยาว ๆ และแบ่งให้เป็นห้อง ๆ ให้ได้สัดส่วน และเรื่องของหลังคานั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จะเป็นจั่วหรือเพิงแบบใดก็แล้วแต่ผู้เลี้ยง ขอบกรงก็ควรก่ออิฐให้สูงประมาณ 15-20 ซม. หรือ หรือประมาณอิฐบล็อค 1 ก้อน ก็ใช้ได้ และเพื่อป้องกันศัตรูไก่ เช่น งู หรือหนู นก และอื่น ๆ ก็ควรใช้ลวดตาข่ายขึงเพื่อป้องกันได้ บริเวณภายในหรือกรงก็ควรมีคอนให้สำหรับไก่ไว้นอน

พร้อมกับจัดหาอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นรังสำหรับไก่ไข่ นอกจัดนั้นก็ต้องจัดหาที่ใส่อาหาร และน้ำให้พร้อมอีกด้วย หากต้องการประหยัดเนื้อที่สำหรับคนที่มีเนื้อที่น้อยนั้นก็สามารถเลือกทำกรงประเภทเคลื่อนย้ายได้น่าจะดีที่สุด เพราะนอกจากจะสะดวกกว่าก็ยังประหยัดพื้นที่ได้อีกด้วย การยกมาทำความสะอาดก็ง่ายไม่ยุ่งยาก กรงที่ยกมาทำความสะอาดได้นั้นก็ต้องพิจารณาถึงวัสดุที่นำมาใช้เช่น มีเนื้อที่ประมาณ 0.8-1-20 เมตร ควรทำกรงให้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 30 ซม. ตัวกรงความสูงเท่ากับลวดตาข่ายคือ 0.90 เมตร พื้นกรงควรรองพื้นด้วยทราย เช่นเดียวกับกรงชนิดอื่น ๆ แต่หลังคาก็แล้วแต่ผู้เลี้ยงว่าต้องการทำแบบใด สำหรับกรงแบบคอนโดมิเนียมก็เหมาะสมหรับกรงที่ต้องการแยกไก่ขังเดี่ยวถือว่าเหมาะสมที่สุด เอาไว้สำหรับแยกเพื่อเตรียมการประกวดและต้องการประหยัดเนื้อที่เช่นกัน
การสร้างโรงเรือนของไก่แจ้ จำเป็นต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัย เช่นกัน กรงของไก่แจ้ควรสร้างโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตกเฉียงใต้ และมีหน้าต่างประตูหันออกสู่ลานกว้าง ด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็ควรมีพุ่มหรือกอไม้สำหรับบังลม เพราะกรงไก่แจ้นั้น นอกจากจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่ค่อนข้างมีทั้งร่มเงา และแสงแดดแล้วก็ต้องบังฝนได้เพื่อไม่ให้ไก่แจ้เป็นหวัด อากาศต้องถ่ายเทสะดวก แต่ต้องไม่มีลมโกรกแรง ๆ มาโดนตัวไก่ จากปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมานั้นถือเป็นที่อยู่ที่เหมาะสมสำหรับไก่มากที่สุด หากปฏิบัติได้ก็จะเป็นเรื่องดี หากรอบ ๆ โรงเรือนมีเศษกรวด หิน หรือเศษอิฐเพื่อให้ไก่ได้เดิน ก็จะดีมากยิ่งขี้น

การสร้างโรงเรือนหรือเล้าไก่
การสร้างกรงหรือเล้านั้นควรมีเนื้อทีสำหรับไก่ 1 ตัวประมาณ 1.5 ตารางเมตรต่อตัว และแต่ละกรงก็ควรจัดเป็นล็อก สามารถปล่อยพ่อไก่แจ้ได้ 1 ตัว แม่ไก่แจ้ 2-3 ตัว ต่อกรง พื้นที่ด้านล่างก็สามารถใส่เศษหญ้าหรือเศษฟางเพื่อปูพื้น จัดหาภาชนะสำหรับใส่อาหาร และน้ำให้พร้อม และควรมีคอนสำหรับเกาะให้ไก่นอนภายในกรงด้วย หากกรงใหญ่ขึ้นก็จะมีพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้การบุผนังไก่ให้ไก่หลับนอน การทำประตูเลื่อนกั้นเล้าเป็นสองส่วนอาจช่วยให้เล้าอุ่นขึ้นได้ ประตูเลื่อนนี้ควรจะปิดเมื่อไก่ทุกตัวเริ่มนอน ตั้งแต่ 18.00 น. และหากล่องใบใหญ่มาวางในเล้าเพื่อให้ไก่เข้าไปนอนในเวลากลางคืนได้

การทำหน้าต่างและประตูเล้าไก่แจ้
การทำประตูหรือหน้าต่างให้ไก่แจ้ ต้องมีการกะหรือประมาณเนื้อที่ในการทำไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของกรงไก่แจ้ เพราะช่องที่เทลาดลงไปสู่พื้นนั้นจะต้องปิดได้อย่างสนิทเพื่อป้องกันลมแรงโกรกโดนตัวไก่ เพราะจะทำให้ไก่นั้นเกิดโรคและไม่สบายได้ง่ายมาก ๆ ส่วนบนจะต้องเป็นบานเปิดเป็นบานพับเพื่อที่จะเปิดไว้ในฤดูที่อากาศค่อนข้างอุ่น ช่องบานเปิดเหล่านี้ต้องขึงด้วยมุ้งลวดเล็ก ๆ เพื่อกันบรรดามดต่าง ๆ ไม่ให้ใช้ม่านจะทำให้ปิดทางระบายอากาศได้
ส่วนประตูก็ต้องได้มาตรฐานมีความสูงและความกว้าง ดังนี้ สูง 6 ฟุต กว้าง 2-3 ฟุต ประตูชนิดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในกรณีที่เล้ามีขนาดกว้าง และใหญ่ ธรณีประตูก็ควรมีและจะมีประโยชน์เพื่อป้องกันขี้กบหรือเศษฟางไม่ให้หลุดร่วงออกจากกรงได้ ขนาดของธรณีอาจมีความสูงประมาณ 10 นิ้ว ก็ถือว่าเหมาะสม ประตูต่าง ๆ ควรจะมีความเหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การระบายอากาศ
ไก่ต้องการสภาพที่มีอากาศบริสุทธิ์และไวต่อสภาพอบอุ่นและความชื้นยิ่งไก่แจ้ 3 ตัว จะต้องการที่วางอย่างน้อยประมาณ 35 ลูกบาศก์ฟุต (1 ตารางเมตร) เรื่องความสะอาดภายในเล้าก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมีการดูแลรักษาความสะอาดภายในเล้าอย่างดีแล้วก็จะทำให้งานน้อยลง เพราะจะดูแลเพียงเล้าให้มีการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศได้ดีเท่านั้น แต่หากไม่ทำความสะอาดอยู่เป็นประจำแล้วนั้นจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคทางเดินหายในส่วนบนและเยื่อตาอักเสบตามมา ทำให้มีความยุ่งยากและมีปัญหามากยิ่งขึ้น

คอนสำหรับให้ไก่นอน
คอนนั้นจะมีการเลือกขนาด ใหญ่เล็ก แล้วแต่ขนาดของไก่แต่ละสายพันธุ์ ซึ่งปกติจะกว้างประมาณ 1 1/2-2 นิ้ว และหนาประมาณ 1 นิ้ว ด้านบนจะมีลักษณะมนกลม คอนแบบนี้ทำให้ไก่หลับได้สบายที่สุด คอนสำหรับไก่ที่โตเต็มที่จำนวน 4 ตัว จะมีความยาวประมาณ 3 ฟุต หากสั้นกว่านี้จะเกิดปัญหาคือไก่จะตีกันเอง สำหรับไก่ที่บินไปมาไม่สูงมากนัก ก็จะใช้คอนที่มีความสูงไม่เกิน 15 นิ้ว คอนที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุตจะมีความเหมาะสมสำหรับไก่บางสายพันธุ์ คอนที่สูงเกินไปก็อาจทำให้ไก่บาดเจ็บได้ เนื่องจากต้องทำการกระโดดขึ้นลง และหางไก่ที่ผู้เลี้ยงเลี้ยงนั้นมีหางที่ยาวก็ต้องคิดเผื่อในการทำคอนให้เหมาะสมด้วยว่า ห้ามให้หางยาวลงมาระกับพื้นด้านล่างเมื่อเกาะอยู่บนคอน เพราะหากหางลงมาเปรอะเลอะเทอะบนพื้นที่มีมูลไก่แล้วอาจทำให้เกิดความสกปรก และมีโรคตามมาได้
วัสดุปูพื้นเล้า
ขึ้กบที่เกิดจากการหลงเหลือของเปลือกไม้ที่ไม่ผ่านการอบจะดีที่สุด
จะไม่ค่อยแพงนัก ฟางหั่นก็พอใช้ได้แต่จะไม่ดูดกลิ่นและเท่ากันกับขึ้เลื่อย เศษถ่านพีท ไม่เหมาะสม เพราะมีฝุ่นสูงเป็นอันตรายต่อการหายใจของไก่ ความหนาในการรองพื้นนั้นควรใช้ประมาณ 12-16 นิ้วถือว่าเหมาะสม
สุขศาสตร์
ควรทำความสะอาดทุกวัน หากปฏิบัติไม่ได้ก็อย่าปล่อยให้เลยเกิน 2-3 วัน และเช็ดคอนด้วยผ้าหมาด ๆ ถ้าทำเป็นกิจวัตรได้แล้ว ก็จะรู้สึกได้ว่าดีกว่าการทำความสะอาดเพียงอาทิตย์ละครั้งเป็นไหน ๆ เพราะจะเหนื่อยมากกว่ากันอย่างมาก การทำความสะอาดครั้งใหญ่ควรทำปีละ 2 ครั้ง โดยการทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ และไม่ควรใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด คอนให้แยกล้างต่างหาก ยาเช็ดปรสิตก็นำมาใช้หลังจากทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ เสร็จก็ถือว่าเป็นการเสร็จเรียบร้อย
ลานเปิด
ไก่แจ้ชอบสถานที่กว้าง เป็นธรรมชาติเหมือนสัตว์อื่น ๆ ทั่วไป สถานที่ที่เหมาะจะเป็นลานให้ไก่แจ้มากที่สุดคือ สวนผลไม้ที่อยู่ในบริเวณทุ่งหญ้า สถานที่ดังกล่าวน่าจะเป็นดินแดนสุดโปรดของมันได้อย่างแน่นอนมากกว่าลานแบบกรวดที่จัดสร้างขึ้นเอง แต่อาจต้องระมัดระวังสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นศัตรุของไก่แจ้ด้วย
ลานกั้นคอก
บางทีอาจเลือกเลี้ยงไก่สายพันธุ์ที่มันชอบบินสูง ๆ ไม่ชอบอยู่ภายในรั้วบ้าน ชอบอยู่ตามสวน นอนหลับบนต้นไม้ ซึ่งไก่ประเภทนี้ต้องมีลานแบบกั้นคอกและสำหรับพันธุ์อื่น ๆ ก็ควรมีลวดตาข่ายปิดด้านบนแบบเดียวกันกับกรงนกด้วย
ลานแบบพิเศษ
ลานประเภทนี้ต้องมีการจัดการที่ละเอียดเป็นพิเศษ เพราะส่วนใหญ่แล้วลานประเภทนี้จะเป็นลานที่นิยมสำหรับทำให้ไก่แจ้ที่มีการเลี้ยงเพื่อการประกวด เพราะต้องดูแลตั้งแต่การตัดหญ้าให้เรียบร้อย การเตรียมทรายให้หนาประมาณ 8-10 นิ้ว การเปลี่ยนทรายเป็นระยะ ๆ การดูแลเมื่อไก่เดินคุ้ยเขี่ยเป็นหลุม ๆ ความสะอาดต้องมีการดูแลเป็นอันดับหนึ่ง เพราะต้องมีการดูแลทั้งพื้นที่ลาน ให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลาแล้ว ยังต้องดูแลไก่แจ้ในเรื่องของสภาพเส้นขนให้สะอาด แห้ง และสมบูรณ์ตลอดด้วยเช่นกัน
เรือนแม่ไก่และกระบะสำหรับลูกไก่
จากสัญชาตญาณของไก่มักจะออกไข่ในที่ที่มันเคยออกไข่มาก่อน เพราะมีความรู้สึกว่าปลอดภัยต่อตัวของมันเองและลูก ๆ สัปดาห์แรกควรนำไข่ที่ฟักเป็นตัวแล้วไว้ในเล้าจะดีที่สุด นำแม่ไก่ไปไว้ในกล่องใบใหญ่ ๆ แยกเอาไว้มีลวดตาข่ายปิดไว้ มีขี้กบรองพื้น และมีรังไข่น้ำและอาหารพร้อมสรรพ เนื่องจากเนื้อที่จำกัด จึงต้องนำแม่ไก่ไปปล่อยในลานเมื่อถึงเวลาที่ลูกไก่ต้องกินอาหาร ทั้งนี้ก็ต้องนำออกไปทีละตัว หากนำออกไปหลายตัวพร้อมกันอาจเกิดปัญหาจิกตีกัน จึงควรแยกเนื้อที่เป็นส่วน ๆ เพื่อเป็นการจัดสรรเนื้อที่สำหรับกกฟักไข่เฉพาะของแต่ละตัวไว้ให้เรียบร้อยก็จะดี

หากสภาพอากาศภายนอกดี ก็สามารถนำลูกไก่ออกมาภายนอกให้ได้รื่นเริงบันเทิงใจกันได้บ้าง แต่บริเวณนั้นจะต้องแห้ง อบอุ่น ไม่มีลมกรรโชกแรง เพราะอาจทำให้เจ้าตัวเล็กไม่สบายภายหลังได้ หากมีกระบะสำหรับยกแยกออกไปภายนอกได้ก็จะยิ่งดีมาก แต่กระบะควรจะแยกพื้นที่สำหรับแม่ไก่ไว้กกไข่ 1 จุด ส่วนลูก ก็ใช้พื้นที่อีก 1 จุด แต่กล่องต้องกันน้ำได้ และต้องเพียงพอที่จะให้ลูกไก่วิ่งมากกและซุกอกของแม่ไก่ให้ได้ความอบอุ่นได้ด้วย