หลังจากที่ลูกอ๊อดได้กลายเป็นลูกกบในแบบสมบูรณ์ขนาดตัวจะยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขาครบ 4 ขา และเริ่มอาศัยอยู่บนบกได้แล้ว ก็จับแยกเอาเฉพาะ
ลูกกบเอามาเลี้ยงรวมกันในบ่ออนุบาล เพื่อลดการกัดกินกันเอง และเพื่อไม่ให้บ่อนุบาลแน่นจนเกินไปควรปล่อยลูกกบลงเลี้ยงราว 150-200 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับลูกกบที่ได้รวบรวมจากแหล่งธรรมชาติต้องคัดขนาดให้ได้ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ก่อนปล่อยเลี้ยงรวมกัน เพราะจะสามารถฝึกหัดให้กินอาหารไม่มีชีวิตได้ง่ายและเร็วขึ้น
การอนุบาลลูกกบ ทั้งจากการเพาะเลี้ยงและจากการรวบรวมจากธรรมชาติก็สามารถอนุบาลได้ลักษณะวิธีการไม่ต่างกันดังนี้
บ่อที่ใช้ในอนุบาล
บ่อจะมีลักษณะเช่นเดียวกับบ่อเลี้ยง แต่จะมีน้ำต่ำกว่า 1-2 นิ้ว ในระยะแรก และจึงค่อยเพิ่มสูงขึ้นในเวลาต่อมาจนกระทั่งมีความสูงที่ 30 เซนติเมตร การกระทำดูแลบ่อลักษณะเช่นนี้จะส่งผลดีต่อความแข็งแรงของลูกกบด้วย
การให้อาหารเลี้ยง
ลูกกบระยะนี้จะกินอาหารเคลื่อนไหว เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงต่าง ๆ การให้อาหารเลี้ยง
ลูกกบระยะนี้จะกินอาหารเคลื่อนไหว เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงต่าง ๆ การให้อาหารเลี้ยง
ลูกกบระยะนี้จะกินอาหารเคลื่อนไหว เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงต่าง ๆ จึงควรจัดการหาอาหารเหล่านี้มาให้ลูกกบได้กินเป็นอาหารก่อน จากนั้นจึงค่อยฝึกหัดให้ลูกกบได้กินอาหารไม่มีชีวิต เช่นปลาบด ปลาเป็ดละเอียดผสมรำละเอียด หรืออาหารอัดเม็ดสำหรับลูกไก่มาใช้เลี้ยงก็ได้ และจึงค่อยหยุดอาหารแบบมีชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย หลังจากที่ลูกกบปรับตัวกับอาหารสำเร็จรูปได้แล้ว
หากในช่วงแรกของการอนุบาลลูกกบนั้นไม่สามารถหาอาหารมีชีวิตมาเลี้ยงลูกกบได้ควรให้ลูกกบได้อดอาหารราว 1-2 วัน เมื่อลูกกบหิวจึงค่อยให้อาหารประเภทปลาเป็ดบด หรือปลาเป็ดสับผสมรำละเอียด การให้ควรนำไปวางลงบนแพในช่วงพลบค่ำ และใช้วัสดุบางอย่างปกคลุมป้องกันแมลงรบกวน ลูกกบจะเริ่มกินอาหารทีละนิดเพราะความหิวตามลำดับภายใน 4-5 วัน ลูกกบจะเริ่มกินอาหารได้อย่างเต็มที่
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการเลี้ยงรวมในปริมาณมากที่ไม่เหมือนกับธรรมชาติสร้างขึ้นนั้นต้องได้รับการดูแลและจัดการเป็นอย่างดี และลดการเน่าเสียของน้ำ ความเครียด โดยทำการถ่ายน้ำ ทุก ๆ 1-2 วันต่อครั้ง หรืออาจทุก 7-10 ก็ได้
การเจริญเติบโต
หลังจากที่ได้ทำการอนุบาลลูกกบเป็นเวลานาน 20-30 วันแล้วลูกกบจะมีขนาดที่ยาวขึ้นประมาณ 3-5 เซนติเมตร และน้ำหนักตัวประมาณ 6-10 กรัม มีขนาดโตแข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงบ่อเลี้ยงได้
ก่อนที่จะนำลงบ่อต้องมีการคัดขนาดให้ได้ไล่เลี่ยกันและยังเป็นการป้องกันการกัดกินกันเอง และการแย่งอาหารกันด้วย หลังจากที่มีการปฏิบัติดังกล่าวแล้วนั้นก็สามารถพัฒนาเป็นการเลี้ยงกบรุ่นสืบต่อไป
การเลี้ยงกบรุ่นเพื่อส่งตลาด
เมื่อได้กบที่มีขนาดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็จะสามารถนำมาเลี้ยงเพื่อพัฒนาให้เป็นกบรุ่นสืบต่อไป วิธีนี้จะช่วยให้ลูกกบมีอัตราการรอดตายมากยิ่งขึ้น