ก่อนอื่นต้องขอแนะนำให้ทราบกันก่อนว่า จระเข้ทั้งหมดนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก มีทั้งจระเข้น้ำเค็มและน้ำจืด ซึ่งอาศัยอยู่มากมายหลายประเทศ หลายทวีป
ทั่วโลก บางชนิดดุร้ายมาก บางชนิดมีหนังเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาแปรรูปเป็นสินค้าเครื่องหนังต่าง ๆ ดังนั้นจึงอยากชี้แจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจระเข้น้ำเค็มและจระเข้น้ำจืด เพื่อให้ผู้ที่สนใจเลี้ยงจระเข้เพื่อการพาณิชย์ได้ศึกษารายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
ตารางเปรียบเทียบจระเข้น้ำเค็มและจระเข้น้ำจืด
ลักษณะ |
จระเข้น้ำเค็ม |
จระเข้น้ำจืด |
|
บริเวณน้ำกร่อย แถวปากแม่น้ำอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม พบมากที่จังหวัดสุราษฎร์และทางภาคใต้ทั้งหมด | บริเวณห้วยหนอง คลองบึง สมัยก่อนมีมากทางภาคกลางตั้งแต่ชัยนาท ขึ้นไปถึงอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะบึงบอระเพ็ด ปัจจุบันไม่หลงเหลือแล้ว |
|
ดุร้ายมาก กินคน | อาจทำร้ายคนบ้าง |
|
ส่วนปากยาว 21/2-2 1/6 เท่าของความกว้างของหน้า(วัดด้านหน้าของตา) | ส่วนปากยาว ½-1 5/8 เท่าของความกว้างของหน้า(วัดด้านหน้าของตา) |
|
เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม | เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน โหนกและหลังตาสูงและเป็นสันมากกว่าจระเข้น้ำเค็ม |
|
ไม่มีเกล็ดมีเพียงเกล็ดหลังคอ | มีเกล็ดใหญ่ 4 เกล็ดสูงและแข็งมาก |
|
สีออกโทนเหลืองอ่อน มีลายเป็นจุดสีดำตลอดลำตัว | สีออกโทนน้ำตาล,ดำ,เทา,มีลาย เป็นแถบ และลายที่ลำตัวไม่เป็นจุด |
|
ช่วงลำตัวเรียวยาว สมส่วนโตเต็มที่ยาว 5.-6เมตร | อ้วนป้อมดูไม่สมส่วนนักโตเต็มที่ยาว 4-4.5เมตร |
|
เท้าคู่หลังมีพังผืดคล้ายเป็ด เรียกว่า จระเข้เท้าเป็ด เท้าหน้าก็เช่นกัน | เท้าคู่หลังไม่ค่อยมีพังผืดมากนัก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า จระเข้ตีนไก่ เท้าหน้าก็เช่นกัน |
|
ฤดูกาลวางไข่จะวางไข่ในบริเวณน้ำกร่อยที่อาศัยอยู่ | ฤดูกาลวางไข่จะวางไข่บริเวณน้ำจืด |
|
ส่วนมากจะเป็นสัตว์ทุกชนิดที่สามารถจับกินได้ รวมถึงคนด้วย | กินปลา สัตว์น้ำทุกชนิด รวมถึงสัตว์สี่เท้าด้วย |