สัตว์ปีก » ไก่ไข่ » การเลี้ยงลูกไก่และไก่สาว

การเลี้ยงลูกไก่และไก่สาว

14 พฤศจิกายน 2014
2249   0

ต้องมีการเตรียมตัวก่อน 1 วันที่ลูกไก่จะเข้าเล้าดังนี้
– ปรับอุณภูมิเครื่องกกไก่ให้อยู่ที่ประมาณ 32-25 องศาเซลเซียส
– ทำเครื่องล้อมโดยให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3 เมตร


– แขวนเครื่องกกกลางแผงล้อมสูงจากพื้น 30-50 เซนติเมตร
– แขวนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 3 อัน คือ หน้า กลาง หลัง
– แขวนหลอดไฟขนาด 20-40 วัตต์บนเพดานห่างกันประมาณ 4 เมตร สูงจากพื้นราว 2-2.50 เมตร จะให้ความสว่างบนพื้นประมาณ 4 วัตต์ต่อตารางเมตร
– วัสดุรองพื้นเช่นแกลบ ควรปูหนาราว 5 เซนติเมตร และทำการปูกระดาษหนังสือพิมพ์ทับ
– อุปกรณ์ให้น้ำและอาหาร คือ ถาดอาหารเรียงรอบกก 1 ใบต่อลูกไก่ 50 ตัว และวางกระป๋องน้ำสลับกับถาดอาหาร 1 ใบต่อลูกไก่ 50 ตัว
– จำนวนลูกไก่กับเครื่องกกนั้น ลูกไก่ 500 ตัว ต่อเครื่องกก 1 ตัว และดูการกระจายตัวของลุกไก่อย่างสม่ำเสมอ
– การจดบันทึกต้องมีการจดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ไก่ตาย อาหารที่กิน อุณภูมิประจำวัน โปรแกรมการให้แสงสว่าง โปรแกรมการให้อาหาร โปรแกรมการป้องกันโรค และการให้วัคซีน
– เมื่อลูกไก่มาถึง ควรจัดเตรียมน้ำ และอาหารรอไว้ให้ลูกไก่ จากนั้นปล่อยลูกไก่ออกจากลังอย่างระมัดระวัง เปิดไฟวันแรกไว้ 23 ชั่วโมงและปิดไฟ 1 ชั่วโมงเพื่อให้ไก่คุ้นเคยกับความมืด สุดท้ายเก็บลังกระดาษทิ้ง
– การดูแลในวันแรก คือทำการตรวจสอบอุณภูมิในขณะกกลูกไก่ ซึ่งการสังเกตุคือ ลูกไก่ต้องกระจายตัวดี ไม่เบียดเสียดแออัดเพราะหนาวเกินไป หรือหนีห่างเครื่องกกไปอยู่รอบ ๆ เพราะร้อนเกินไป
– เปลี่ยนน้ำวันละ 2 ครั้ง
– เติมอาหารบ่อยครั้ง แต่ครั้งละน้อย และเก็บแกลบออกจากถาดอาหาร
– เมื่อเข้าสู่วันที่ 2-7 วัน ให้อาหารเม็ดขนาดเล็กเกลี่ยให้ทั่วราง
– ลดอุณภูมิเครื่องกกลงวันละ 2 องศาเซลเซียส โดยวันที่ 1 อุณภูมิ 34 องศาเซลเซียสและวันที่ 2 ลดเหลือ 32 องศาเซลเซียส และวันที่ 3 เหลือ 30 องศาเซลเซียส และค่อย ๆ ลดลงจนเหลือ 24 องศาเซลเซียส
– ความชื้นในโรงเรือนควรอยู่ที่ 60-80 เปอร์เซนต์
– วันที่ 7 ให้นำกระดาษรองพื้นออก และขยายแผงล้อมลูกไก่ออกด้วย
– สัปดาห์ที่ 2 จะค่อย ๆ ลดอุณภูมิใต้เครื่องกกลงจนเท่ากันกับอุณภูมิโรงเรือนในปลายสัปดาห์ที่ 2
– นำแผงล้อมออกในปลายสัปดาห์ที่ 2
– เปิดพัดลมหากภายในโรงเรือนอับและทึบ
– เพิ่มปริมาณกระป๋องน้ำและถาดอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนไก่
– ยกเครื่องกกให้สูงขึ้นหากอุณภูมิสูงเกินไป
– ตรวจดูสุขภาพไก่
– ทำการตัดปากไก่เมื่ออายุได้ 8-10 วัน
– สัปดาห์ที่ 3 ลดอุณภมิในเล้าให้อยู่ที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส
– เปลี่ยนอุปกรณ์ให้เป็นอุปกรณ์สำหรับไก่ใหญ่ และพยายามเปลี่ยนทีละน้อยเพื่อสร้างความเคยชินกับไก่
– ลดความเข้มของแสงให้เหลือ 2.8 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยการปิดหลอดไฟลงครึ่งหนึ่ง
– ให้น้ำสะอาดเต็มที่ตลอดทั้งวัน
– ตรวจรางอาหารและแกลบรองพื้น กลับแกลบบ้าง และเติมแกลบใหม่เสมอ
– ขยายเล้าให้ไก่อยู่อาศัยอัตรา 8 ตัวต่อตารางเมตร
– คัดไก่ทิ้งกรณีไก่ตาย ไม่แข็งแรง หรือป่วย
– สัปดาห์ที่ 4 ลดความเข้มของแสงโดยการขึงผ้าหรือปิดไฟครึ่งหนึ่ง
– ลดแสงสว่างให้เหลือเพียงวันละ 20 ชั่วโมง
– ลดอุณภูมิให้เหลือ 15 องศาเซลเซียส
– เริ่มตรวจสอบน้ำหนักไก่โดยสุ่มชั่งทุกสัปดาห์ หากน้ำหนักเกินให้ควบคุมอาหาร
– หากพบไก่จิกกัน ทำการลดความเข้มของแสงลง หรือทำการตัดปากไก่
– สัปดาห์ที่ 5-10 จัดการไก่ให้เหลือเพียง 6-7 ตัวต่อตารางเมตร
– เพิ่มรางอาหารให้เป็นรางยาว 10 เซนติเมตรต่อตัว
– เปลี่ยนเป็นอาหารผสมหรืออาหารเม็ดใหญ่สำหรับไก่รุ่น
– เพื่อให้ไก่ชะลอการเติบโตให้เลือกใช้โปรแกรมควบคุมอาหารตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากนั้นลดแสงสว่างให้เหลือเพียงแค่ 10 ชั่วโมงต่อวัน และหมั่นตรวจสุขภาพไก่เสมอ ๆ
– สัปดาห์ที่ 10-18 เริ่มตัดปากซ้ำอีกครั้ง
– ตรวจพยาธิและตรวจสุขภาพไก่อีกรอบ
– ควบคุมเรื่องการให้อาหารและน้ำหนัก ตรวจเลือดและอุจจาระด้วย
– ปลายสัปดาห์ที่ 18 เตรียมตัวขนย้ายไก่ เพื่อนำเข้าเล้าไก่ไข่ ในระหว่างขนย้ายควรเลือกเวลากลางคืนและพยายามอย่าให้ไก่ตกใจและควรจัดการให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
– มาตรฐานการให้อาหารและน้ำหนักไก่ สำหรับไก่สาวหากจะเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จต้อง มีเป้าหมายที่ต้องทำให้บรรลุคือ ไก่มีน้ำหนักตามมาตรฐาน แข็งแรงดีรวมกันหมดทั้งฝูง ควรให้ไก่ไข่เริ่มไข่เมื่ออายุเต็ม 22 สัปดาห์ ห้ามเร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ เพื่อให้ไก่ไข่ได้ระยะเวลายาวนานยิ่งขึ้น และสุดท้ายควรให้ไก่ได้รับวัคซีนตรงตามโปรแกรมด้วย หากมีการควบคุมอาหารของไก่ให้เป็นไปตามสมควรและเหมาะสมจะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายและปริมาณอาหารของไก่ได้ตัวละ 2 กิโลกรัม
– ข้อเสีย หากไก่มีการไข่ก่อนกำหนดที่ควรจะเป็น จะส่งผลเสียให้ ไข่ฟองเล็ก และเกิดความเครียด รวมถึงปลายท่อนำไข่อาจปลิ้นออกมาและส่งผลให้ไก่ตายได้ และยังส่งผลต่อการให้ไข่ในปริมาณและระยะเวลาสูงสุดที่ควรจะเป็น หรือหากไข่ช้าเกินไปไก่ก็จะอ้วนและมักไม่ให้ไข่ถึงจุดสูงสุดเช่นกัน