1. การเลี้ยงแบบกรงตับ การเลี้ยงระบบนี้ถือเป็นนิยมมานานมากแล้ว เนื่องจากประหยัดพื้นที่ หากมีพื้นที่น้อย แต่จะสามารถเลี้ยงได้ปริมาณมากขึ้น กรงตับจะทำ
จากลวดตาข่ายมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 หุน ความกว้าง 48 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร จะทำ 2 ชั้นก็ได้ พื้นที่ขนาดนี้จะเลี้ยงไก่ได้ราว 3-4 ตัว เหมาะมากกับการเลี้ยงแบบอาชีพ
2. การเลี้ยงแบบปล่อยหลังบ้าน การเลี้ยงระบบนี้ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีเงินลงทุนน้อย และง่ายต่อการเลี้ยงหากไม่ชอบความยุ่งยาก แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะข้อเสียของการเลี้ยงระบบนี้คือต้องมีพื้นที่มาก เพราะพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะเลี้ยงไก่ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น และไข่ที่ได้จะสกปรก อาหารต้องใช้ในปริมาณมาก จึงเหมาะกับการเลี้ยงเพื่อ
เป็นงานอดิเรกมากที่สุด พันธุ์ไก่ที่เหมาะสมและอยากแนะนำคือ พันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์ไข่และพันธุ์พื้นเมือง
3. การเลี้ยงบนพื้นคอนกรีตโดยมีวัสดุรองพื้นคือแกลบ ระบบนี้เหมาะมากหากจะเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 100-200 ตัว โดยจะใช้โรงเรือนขนาด 30-40 เมตร โดยปูแกลบทับพื้นคอนกรีต หนาราว 4-5 เซนติเมตร มีทั้งข้อดีและเสีย ข้อดีคือประหยัดค่าก่อสร้าง ดูแลง่าย แต่ข้อเสียคือ ไก่มักจิกกัน เลี้ยงไก่ได้ 4 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
4. การเลี้ยงบนโรงเรือนยกพื้น ระบบนี้จะใช้การสร้างโรงเรือนยกพื้นสูงราว 1 เมตร ด้านล่างเพิ่มรายได้ด้วยการสร้างบ่อเลี้ยงปลา นิยมมากที่ภาคกลาง วิธีนี้ควรคุมโรคได้ดี อาจใช้พื้นไม้ระแนง ในพื้นที่เล้า 1 ตารางเมตรจะเลี้ยงไก่ไข่ได้ราว 5-6 ตัว แต่ข้อเสียก็ยังประสบปัญหาเรื่องของไก่จิกกันเช่นเคย และยังใช้ต้นทุนในการก่อสร้างสูงด้วย
5. การเลี้ยงในเล้าขนาดเล็ก การเลี้ยงระบบนี้ควรสร้างขนาดเริ่มต้นคือ 4 ตารางเมตรอย่างน้อย จะสามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ราว 20 ตัว พื้นอาจใช้พื้นไม้ไผ่ หรือไม้ระแนงปูห่างกัน 1-1.5 เซนติเมตร สร้างหลังคาบังแดดฝน มีรางน้ำ รางอาหารและรังไข่ให้เหมาะสมกับจำนวนไก่ เหมาะมากหากต้องการเลี้ยงเพื่อจะศึกษา ระบบนี้จะเลี้ยงไก่ไข่ได้ราว 5 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แต่ปัญหาที่พบก็คือไก่จิกกัน เหมือนกับหลายวิธีที่กล่าวมา
6. การเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย ระบบนี้จะเลี้ยงไม่ได้มากนักต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยจะเลี้ยงได้ราว 2 ตัวเท่านั้น แต่ระบบนี้จะดีกว่าระบบปล่อยลาน เพราะไก่จะแข็งแรงดี