ไก่แจ้ เป็นสัตว์ปีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการขนานนามอย่างเป็นสากล และแถบยุโรปและอเมริกาว่า “แจแปนนีสแบนตั้ม” ในประเทศไทยมีการพบไก่แจ้ตั้งแต่สมัย
โบราณ จึงถือได้ว่าไก่แจ้นั้นเป็นไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่งเช่นกัน ไก่ป่าดั้งเดิมนั้นสามารถจำแนกประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 จำพวกคือ
1. ไก่ป่าชวา หรือ Green Jungle
2. ไก่ป่าลังกา หรือ La Fayette’s fowl
3. ไก่ป่าไทย หรือ Red Jungle fowl
4. ไก่ป่าอินเดีย หรือ Sonnerat’s Jungle fowl
ไก่ป่าชวา นั้นตัวเมียจะมีหน้าอกสีน้ำตาลคล้ำ ๆ มีลายสีดำที่ส่วนบนของตัว ส่วนตัวผู้จะมีขนสร้อยคอสั้น และกลมมนสีเขียว มีอยู่ตามหมู่เกาะเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออก และมีในเกาะชวา เมื่อหลายพันปีก่อนมีการจับไก่มาเลี้ยงในประเทศจีนซึ่งราว ๆ 3,300 ปี ส่วนไก่ของประเทศอินเดียถูกนำมาเลี้ยงในกรุงบาบิโลนเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว การขยายพันธุ์นั้นมีการขยายพันธุ์ขึ้นในประเทศกรีซ ในกรุงโรมก็มีการเลี้ยงไก่อย่างธรรมดาไม่ถึงกับจริงจังอะไรนักเมื่อก่อนคริสต์ศตวรรษ แต่การเลี้ยงอย่างเป็นล่ำเป็นสันนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง และสำหรับ
ไก่ป่าลังกา จะมีความแตกต่างกันกับไก่ป่าของไทยตรงที่จะมีหน้าอกและใต้ท้องเป็นสีแดงส่วนใหญ่ ส่วนไก่ป่าของไทยนั้นจะมีหน้าอกและใต้ท้องเป็นสีดำ ไก่ป่าลังกาจะมีปลายปีกและหางสีดำแกมเขียว หน้าแข้งเป็นสีดำตุ้มหูแดง ลักษณะของตัวเมียจะมีหน้าอกสีขาว ลายขอบขนเป็นสีดำ ปีกและหางมีลายเลือน ๆ มีในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศอินเดีย
ไก่ป่าไทย ลักษณะที่โดดเด่นและสำคัญคือ มีหน้าอกและใต้ท้องเป็นสีดำซึ่งถือเป็นลักษณะที่สำคัญของไก่ป่าไทยตัวผู้ ส่วนตัวเมียนั้นจะมีหน้าอกสีน้ำตาลแกมแดงส่วนบนหลังนั้นจะมีลายเลือน ๆ ไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนักพบมากในประเทศแถบเอเซียเช่นประเทศ อินเดีย ไทย อินโดนีเซีย พม่า สำหรับไก่ป่าของไทยยังสามารถแยกประเภทออกมาได้อีก 2 ชนิดย่อย ๆ คือ
ไก่ป่าตุ้มหูแดง หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ ไก่ป่าพันธุ์พม่า จะมีลักษณะคล้ายกันกับไก่ปุ่าตุ้มหูขาวมาก แต่ทั้งลักษณะของทั้งตัวผู้และตัวเมียจะขนสร้อยคอสั้นกว่า ตัวผู้สำหรับไก่ป่าตุ้มหูแดงจะมีตุ้มสีแดงเหมือนกันกับชื่อที่ใช้เรียกเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของไก่ป่าตุ้มหูแดงนั่นเอง ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ
ไก่ป่าตุ้มหูขาว จะมีลักษณะขนบนหัวและสร้อยคอจะเป็นเส้นขนยาว มีปลายแหลม คอตอนบนมีลักษณะเป็นสีทองค่อนข้างแดงและจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีเหลืองมากขึ้น ตอนล่างของคอจะมีขนเป็นสีแดงในส่วนปลายสุด ส่วนหลังจะมีสีน้ำตาลแกมดำส่วนล่างของหลังมีขนยาวปลายแหลม ต้นปีกจะมีขนปกคลุมเป็นสีแดงคล้ำ ๆ ถัดไปเป็นสีเหลือบเขียว ขนปลายปีกด้านในจะมีสีน้ำตาลแกมดำ ส่วนขนด้านนอกจะมีสีน้ำตาลแกมแดง บริเวณของหางจะมีสีดำเหลือบสีเขียวปนน้ำเงิน เส้นขนจะมีความโค้งสละสลวย งดงามอย่างมาก ลำตัวส่วนล่างจะมีสีดำตลอด ใบหน้าเป็นสีแดงมีลักษณะผิวเกลี้ยง ม่านตาสีแดงแกมเหลือง และมีตุ้มหูสีขาวเห็นได้ชัด ปากล่างสีค่อนข้างเหลือง ปากบนสีเหมือนเขาควาย คือสีดำ แข้งนิ้วเท้ากับเล็บสีออกดำ ตัวผู้จะมีสีของขนเปลี่ยนไปบ้างในช่วงของเดือน 6 -9 ของปี จะมีขนหางเส้นยาว ๆ หลุดออกไปขนหงอนจะเล็กลงและก็สีคล้ำขึ้นด้วย เดือยจะสั้นและปลายทู่ ลักษณะตัวเมียจะมีสีน้ำตาลแกมดำบนหัว ขนส่วนบนคอจะมีสีไพลเส้นขนค่อนข้างยาว ขนปีกและขนที่หลังจะมีสีขาว จะสามารถมองเห็นเป็นไปในแบบสีขาวบนพื้นสีดำแกมสีเขียว ใต้คอและหน้าอกมีสีน้ำตาลแกมแดง ใต้ท้องมีสีน้ำตาลคล้ำหม่น ขนส่วนล่างของตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อนตรงกลาง ใต้คอและใบหน้าจะเห็นเป็นหนังเกลึ้ยงสีค่อนข้างแดง ไม่มีเหนียงยาวเหมือนกับตัวผู้ ม่านตามีสีส้มหรือน้ำตาล เล็บค่อนข้างดำแต่จะไม่ดำเข้มอย่างตัวผู้ ส่วนของปากบนสีไพลและปากล่างจะมีสีค่อนข้างเหลือง แข้งนั้นจะมีสีเดียวกับเล็บ ทั้งหมดคือลักษณะไก่ป่าตุ้มหูขาวหรืออีกชื่อคือ ไก่ป่าอีสาน และจำพวกที่ 4 จำพวกสุดท้ายคือ
ไก่ป่าอินเดีย ในลักษณะตัวผู้จะมีขนสร้อยคอกลมมนและมีจุดสีขาวบนหลัง ใต้ท้องและหน้าอกเป็นสีเทามีลายตามขอบขนดำ ๆ ตุ้มหูมีสีแดง หางและปลายปีกเป็นสีดำแกมเขียว หน้าแข้งเป็นสีดำ ลักษณะสำหรับตัวเมียจะมีหน้าอกสีขาว ปีกและหางมีลายเลือน ๆ ขอบของขนเป็นสีดำ ส่วนใหญ่พบมากในภาคใต้และภาคกลางของประเทศอินเดีย
สำหรับการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยนั้น มีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระตามธรรมชาติมาแต่ดั้งเดิม ไก่พื้นเมืองของไทยนั้น มีทั้งไก่อู หรือไก่ชน ไก่แจ้ ซึ่งมีลักษณะเป็นไก่ตัวเตี้ยและเล็ก ไก่ดำ ไก่ตะเภาและไก่ตะเภาทอง
1. ไก่อูหรือ ไก่ชนนั้น มีหลากหลายสี เช่นสีเหลืองอกขาว ประดู่หางดำ เขียวอีกา เทาทอง และสีลายอื่น ๆ ลักษณะหงอนของไก่อูจะอยู่ที่หัวซึ่งเป็นส่วนหน้า ปลายหงอนเรียบและค่อนข้างกลมมีขนาดเล็ก ตามพื้นที่ชนบททั่วไปนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก ลักษณะนิสัยส่วนตัวของไก่อูนั้นจะมีความหวงแหนในถิ่นที่อยู่ของตัวเองเป็นอย่างมาก หากพบไก่ตัวอื่นหลงเข้ามาในถิ่นที่อยู่ของตัวเองก็จะออกไปต่อสู้หรือตีเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นเจ้าถิ่นหรือเจ้าของอนาเขตทันที ไก่อูหากินเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี นิสัยใจสู้เหมือนนักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแกร่ง คนไทยจึงนำไก่อูมาชนกันเพื่อเป็นเกมส์กีฬา กีฬาชนไก่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ไทย ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย เขมร ลาว มาเลเซีย แต่ข้อเสียของไก่อูก็คือ ให้ลูกน้อย และมีการเติบโตช้า
2. ไก่แจ้ เป็นไก่ที่มีลักษณะตัวค่อนข้างเล็ก และเตี้ย บางคนชอบในลักษณะที่ดูน่ารักน่าเอ็นดูเป็นส่วนใหญ่ จึงนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นไก่สวยงามไว้ดูเล่น แต่บางครอบครัวก็มีความเชื่อว่าการรับประทานไก่แจ้นั้นอาจทำให้ลูกหลานที่เกิดมาเป็นเด็กแคระแกร็นเหมือนกับไก่แจ้ก็มีเช่นกัน คนทั่วไปนิยมนำมาปล่อยไว้ที่วัด จึงเรียกแก่ชนิดนี้ว่าไก่วัด
3. ไก่ดำ มีสีดำตลอดทั้งตัว สันนิษฐานว่าไก่ดำเข้ามาในเมืองไทยพร้อมกับการอพยพของชาวจีน ลักษณะของไก่ดำนั้นนอกจากจะมีตัวเป็นสีดำแล้วยังมีลักษณะคล้ายกันไก่บ้านทั่วไป ใบหน้า ขา แข้ง ขน ผิวหนังและหงอน ลิ้น ก็ยังเป็นสีดำอีกด้วย มีความเชื่อว่าไก่ดำถือกำเนิดขึ้นจากประเทศมองโกเลียตอนนอก ปัจจุบันไก่ดำมีการกลายพันธุ์ไปมาก เพราะคนไทยมีการนำมาเลี้ยงและนำมาผสมพันธุ์กับไก่พื้นบ้านของไทย จึงทำให้เกิดการกลายพันธุ์เรื่อยมา จนเรียกว่า “แสมดำ” แต่ก็มีข้อเสียคือ เนื้อไก่แท้ ๆ จะดีกว่าเนื้อไก่แสมดำ การบริโภคนิยมมากในผู้สูงอายุเพราะมีความเชื่อว่าช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน
4. ไก่ตะเภา และไก่ตะเภาทอง ไก่ตะเภามีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 – 6 ซึ่งเกิดจากการที่ไก่นั้นติดมากับเรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขายในประเทศไทย ไก่ตะเภานั้นคำว่าตะเภาจึงน่าจะมาจากคำว่า “สำเภา” นั่นเอง ไก่ตะเภาและไก่ตะเภาทองเป็นไก่ที่ค่อนข้างหากยากในปัจจุบันและไก่ตะเภาทองเป็นไก่ที่มีความสวยงามมาก ขนนุ่ม ขนาดใหญ่และมีขนละเอียดเป็นสีทอง หงอนมีลักษณะเป็นหงอนหิน ส่วนไก่ตะเภามีรูปร่างและลักษณะคล้ายไก่ตะเภาทองแต่จะมีหงอนจักร หรือหงอนชบา สีขนจะเข้มกว่าออกไปทางสีแดงแกมเหลือง ไก่ตะเภาและไก่ตะเภาทองจะมีเนื้อนุ่ม รสหวาน คนจีนในประเทศไต้หวันนิยมรับประทานกันเป็นอย่างมาก