สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ » กบ » พันธุ์กบที่ควรเลี้ยง

พันธุ์กบที่ควรเลี้ยง

20 สิงหาคม 2014
11724   0

พันธุ์กบพบมากหลากหลายชนิด แต่มี 2 ชนิดที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทยคือ กบพันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์พื้นเมือง
1.  กบพันธุ์ต่างประเทศ ที่เข้ามามามีบทบาทอย่างมากในประเทศไทยคือ กบพันธุ์บลูฟร็อก ซึ่งเป็นกบที่มาจากประเทศอเมริกา     อาศัยอยู่บริเวณภูเขา
ร็อกกี้ ถือได้ว่าเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 8 นิ้วโดยเฉลี่ย กบชนิดนี้มีส่วนหัวและส่วนหน้าเป็นสีเขียว      ส่วนของเยื่อหูโตกว่าตา ขอบของส่วนเยื่อหูด้านบนยกสูงขึ้นโค้งไปจรดกับขอบตา ใต้คางเป็นสีเหลือง ลำตัวนั้นจะเป็นสีดำปนเขียวประน้ำตาล ขาหลังมีลายพาดขวางใต้ขามีสีเขียว กบชนิดนี้มีการทดเลี้ยงถือได้ว่าเหมาะสมที่จะทำการเลี้ยงกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย มีการนำมาทดลองเลี้ยงโดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปัจจุบันบริษัทเอกชนสั่งนำเข้ามาเลี้ยงหลายต่อหลายฟาร์ม อุปนิสัยของกบชนิดนี้ เลี้ยงง่าย โตวัย น้ำหนักดี เมื่อโตเต็มที่หนักได้ถึง  400 กรัมต่อตัว โดยเลี้ยงเพียงแค่ 7 เดือน   ซึ่งหากพิจารณาให้ดีนั้นพันธุ์กบที่เหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อเสริมสร้างรายได้นั้นมีอยู่ 2 พันธุ์คือ กบนาและกบบลูฟร็อก ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1.  กบนา  กบนามีข้อดีคือ การเลี้ยงจะใช้เวลาเลี้ยงน้อยกว่า จึงสามารถจับขายได้เร็วกว่า คือเลี้ยงเพียง 4-5 เดือนก็สามารถจับได้  จากแรกเริ่มที่กบเริ่มวางไข่และฟักตัวกลายเป็นลูกอ๊อดนั้นจะใช้เวลาเพียง 24 ชม.  และมีการพัฒนาต่อกลายเป็นลูกกบซึ่งใช้เวลาประมาณ 30-40 วันเท่านั้น  ซึ่งช่วงของการเป็นลูกอ๊อดนี้หากดูแลดี อาหารสมบูรณ์ ลูกอ๊อดก็จะกลายเป็นลูกกบที่แข็งแรง โตวัย ได้ขนาด โดยจะนำไปเลี้ยงต่อเพียงแค 2-4 เดือนเท่านั้น
2.  กบบลูฟร็อก  แม้จะเป็นกบที่สามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีและมีขนาดใหญ่จะใช้เวลาเลี้ยงนานกว่ากบนา จึงถือเป็นข้อเสียของกบชนิดนี้  คือเมื่อวางไข่และพัฒนาไปกลายเป็นลุกอ๊อด จะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน จากลูกอ๊อดเป็นลูกกบต้องใช้เวลานานถึง 3  เดือนเลยทีเดียว ซึ่งถือว่านานกว่ากบนาค่อนข้างมาก และต้องทำการเลี้ยงต่อจนกว่าจะจำหน่ายได้อีกใช้เวลาอีก 4-5  เดือน   และหากเทียบเคียงต่อไปถึงความน่ารับประทานของกบทั้งสองสายพันธุ์นั้น กบนา จะมีเนื้อแดงระเรื่อ กล้ามเนื้อค่อนข้างแข็ง หากเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้วจะเหมือนกันกับเนื้อไก่บ้าน ส่วนเนื้อของกบบลูฟร็อกจะเปรียบได้กับไก่กระทงที่มีเนื้อสีขาวซีดและเนื้อค่อนข้างที่จะแน่นน้อยกว่ากบนา  น้ำหนักของกบบลูฟร็อกจะอยู่ที่ท้องหรือระบบทางเดินอาหาร   ส่วนเนื้อนั้นมีไม่ถึง 30% ของน้ำหนักตัว และยังมีกระดูกที่ค่อนข้างใหญ่อีกด้วย
โดยปกติแล้วแนวทางด้านการตลาดสำหรับกบชนิดนี้คือ เลี้ยงเพื่อถลกหนังออกแล้วนำเนื้อส่งเข้าร้านอาหารหรือภัตตาคารเป็นส่วนมาก   ซึ่งการบริโภคในประเทศไทยนั้นยังถือว่ามีไม่มาก ส่วนใหญ่นิยมบริโภคกบนามากกว่า จึงทำให้กบนายังคงเป็นที่นิยมรับประทานสำหรับคนที่ชื่นชอบกบอยู่นั่นเอง
2.  กบพันธุ์พื้นเมือง  ได้แก่ กบนา กบจาน กบบัว กบภูเขา กบทูต
กบนา  จัดเป็นกบขนาดกลางที่หาได้ทั่วไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย   ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 200-250 กรัมต่อตัว หรืออาจจะคิดเป็น 4-5 ตัว ต่อกิโลกรัม  กบนามีผิวหนังสีน้ำตาลปนดำ ด้านหัวและหลังมีสีน้ำตาล บริเวณใต้คางมีจุดเด่นสีเทา ท้องมีสีขาวเหลือง ขาหน้าและขาหลังมีความยาวปานกลาง มีลายสีน้ำตาลเป็นแถว ๆ พาดขวางระหว่างนิ้วมีแผ่นหนังยึดติดกับเกือบสุดปลายนิ้ว ปลายนิ้วเท้าเป็นปุ่มเล็กน้อย ไม่มีปุ่มที่กระดูก ฝ่าเท้าด้านบนส่วนหลังมีสีดำพาดเป็นตอน ๆ ประมาณ 10 แถว ขอบในดวงตาแคบกว่าเปลือกตาบน พบมากตามแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์
กบจาน เป็นกบที่เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 250   ความยาว 5 นิ้ว  ซึ่งกบจานมีรูปร่างคล้าย ๆ กับกบนามีแต่ความแตกต่างกันบ้าง  กบจานมีผิวหนังหรือลำตัวสีน้ำตาลปนเขียว มีลายพาดสีจาง ๆ บริเวณริมฝีปาก ที่ใต้คางตรง ส่วนคอหอยจะมีจุดหรือลายริ้ว ด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล มีจุดสีดำเป็นจำนวนมาก ลักษณะทั่วไปของกบคือ ขาหน้าสั้นอยู่ระหว่างไหล่กับตา ที่ฝ่าเท้ามีปุ่มกระดูกไม่แหลมคม มีสีคล้ำ  สีสันรูปร่างของกบจานนั้นจะมีความแตกต่างไปตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย  กบชนิดนี้พบปะปนมากกับกบนา
กบบัว  ถือเป็นกบขนาดเล็ก ประมาณ 30 ตัวต่อกิโลกรัม  ความยาวอยู่ที่ 2 นิ้ว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อน
กบภูเขา  หรือเขียดแลว  ถือเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  คือ  มีน้ำหนัก 3,000 กรัม ต่อตัว รูปร่างคล้ายปาดเช่นเดียวกับกบฑูต  มีส่วนหัวค่อนข้างแหลม ระหว่างจมูกกับตามีเส้นลายดำ ปากกว้าง ตัวเมียจะมีขนาดยาวน้อยกว่าตัวผู้  ผิวหนังค่อนข้างเรียบ จะมีตุ่มบ้างบริเวณส่วนหลัง ลำตัวสีน้ำตาลอมแดง ท้องสีขาวอมเหลือง ขาหลังมีเนื้อมาก และยาวกว่าขนาดของขาหน้ามาก และสามารถกระโดดได้ไกลถึง 4 เมตร  พบมากตามป่าดงดิบ มีความชื้นและอากาศเย็น  กบชนิดนี้ไม่ชอบอยู่รูเหมือนกบทั่วไป   พบมากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันตกลงมาถึงภาคใต้  จังหวัดที่พบมากของภาคเหนือคือ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก   ฤดูที่ผสมพันธุ์และวางไข่คือฤดูหนาวราว ๆ เดือนธันวาคม
กบฑูต  กบดงหรือกบยักษ์  ถือเป็นกบขนาดใหญ่  เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักตัวมากถึง 1400 กรัม ความยาวยาวถึง 11 นิ้ว  มีรูปร่างคล้ายปาดมากกว่ากบ ผิวหนังเรียบหน้า หน้าผากสั้น หัวสั้น ปากค่อนข้างแหลม ลำตัวยาวโปร่ง ผิวหนังสีน้ำตาลอ่อน  ครึ่งหลังของหนังตามีปุ่มเห็นชัดเจน ที่ปากบริเวณขากรรไกรบนมีจุดสีดำ ส่วนบนขากรรไกรล่าง คอหอย หน้าอก และส่วนหน้าจะมีสีครีมปนสีน้ำตาลอ่อน  ท้องมีสีขาว กบชนิดนี้พบมากบริเวณป่าดงดิบหรือต้นลำธาร  อาศัยอยู่ตามรากไม้ ก้อนหิน กอหญ้า  มีมากตามภาคใต้จังหวัดชุมพร อำเภอท่าแซะ และกิ่งอำเภอพะโต๊ะ   จังหวัดนครศรีธรรมราชและติดกับประเทศมาเลเซีย

การเลือกสายพันธุ์ของกบถือเป็นข้อพิจารณาของผู้เลี้ยงเอง ส่วนใหญ่แล้วควรเน้นทางด้านความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งถือเป็นตัวตัดสินได้อย่างชัดเจน ซึ่งหากให้ชี้แจงแล้วกบนาถือว่าเป็นกบที่มีความต้องการทางด้านการตลาดสูง และมีราคาค่อนข้างดี กบบลูฟร็อกนั้นยังนิยมเลี้ยงในหมู่ผู้ประกอบการเอกชนเป็นส่วนมาก หากพิจารณาจากหลักการดังกล่าวกบนาถือเป็นที่รองรับทั้งในและต่างประเทศ และใช้เวลาเลี้ยงน้อยกว่าด้วย ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงการเลี้ยงกบนาเท่านั้น
ประโยชน์ของการเลี้ยงกบ
ประโยชน์ทางตรง
1.  เป็นอุปกรณ์การศึกษาทางการแพทย์  การวิจัยทางชีววิทยา การทดลองทางวิทยาศาสตร์
2.  ให้ความเพลิดเพลินและความรู้
3.  ใช้เนื้อประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น กบทอดกระเทียม กบย่างรมควัน กบผัดใบกระเพรา  ยำกบ กบผัดเผ็ด ต้มยำโฮกอือฯลฯ
4.  ทุ่นค่าอาหารและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและประเทศชาติ
5.  ใช้หนังทำกระเป๋า รองเท้าและเครื่องดนตรี ฯลฯ
ประโยชน์ทางอ้อม
1.  กระดูกใช้ทำปุ๋ย
2.  ไส้และเครื่องในของกบนำไปเป็นอาหารสัตว์(เลี้ยงปลา)
3.  ช่วยกำจัดแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช เช่น ยุง บุ้ง ฯลฯ