มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนี้กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ และถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้รับการรับรอง
- วัตถุประสงค์
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนี้กำหนดวิธีปฏิบัติ การจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ไก่เนื้อที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมแก่ผู้บริโภค
- คำนิยาม
ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ หมายถึงฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการค้า (Broiler) ที่มีจำนวนตั้งแต่ 3,000 ตัวขึ้นไป
- องค์ประกอบของฟาร์ม
4.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม
4.1.1 อยู่ในบริเวณที่มีการการคมนาคมสะดวก
4.1.2 สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้
4.1.3 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนโรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก
4.1.4 อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
4.1.5 ควรได้รับความยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1.6 เป็นบริเวณที่ไม่น้ำท่วมขัง
4.1.7 เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม
4.2 ลักษณะของฟาร์ม
4.2.1 เนื้อที่ของฟาร์ม
ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม โรงเรือน
4.2.2 การจัดแบ่งพื้นที่
ต้องมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ สำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์การควบคุม
โรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วนโดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
4.2.3 ถนนภายในฟาร์ม
ต้องใช้วัสดุคงทน มีสภาพและความกว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตเข้า-ออกจากภายในและภายนอกฟาร์ม
4.2.4 บ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน
อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์ตามกำหนดอย่างชัดเจน
4.3 ลักษณะของโรงเรือน
โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ สัตว์อยู่สบาย
- การจัดการฟาร์ม
5.1. การจัดการด้านโรงเรือน
5.1.1 โรงเรือนและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
5.1.2 โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.1.3 ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อไก่และผู้ปฏิบัติงาน
5.1.4 มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามความเหมาะสม
5.1.5 มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง
5.2. การจัดการด้านบุคลากร
5.2.1 ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มทุกคนควรได้รับการตรวจ
สุขภาพเป็นประจำทุกปี
5.2.2 ให้มีสัตวแพทย์ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม โดย
สัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งและได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรม
ปศุสัตว์
5.3. คู่มือการจัดการฟาร์ม
ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์มแสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
5.4. ระบบการบันทึกข้อมูล
ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
5.4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
5.4.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต
5.5. การจัดการด้านอาหารสัตว์
5.5.1 คุณภาพอาหารสัตว์
– แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
ก. ในกรณีซื้ออาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามที่กำหนดตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
– ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่นๆ สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
5.5.2 การเก็บรักษาอาหารสัตว์
ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินควรเก็บไว้ในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
- การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
6.1 ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง
ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม
6.2 การบำบัดโรค
6.2.1 การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
6.2.2 การใช้ยาสำหรับสัตว์ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
วิธีการกำจัดของเสีย
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงขยะต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม
กฎ/ ข้อบังคับอื่นๆ ตามกฎหมาย
- ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2504)
- พรบ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
- พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- มาตรฐานคุณภาพน้ำใช้