มาตรฐานฟาร์มฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มโคนมที่ต้องการขึ้นทะเบียน รับรองเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติด้านการ
จัดการฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ที่มาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้รับการรับรอง
2. วัตถุประสงค์
มาตรฐานฟาร์มฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านฟาร์ม การจัดการฟาร์ม สุขภาพโคนม การเก็บรักษาน้ำนมดิบและการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้น้ำนมที่ถูกสุขลักษณะ และ
เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค
3. นิยาม
ฟาร์มโคนม หมายถึง ฟาร์มเพาะเลี้ยงโคนม เพื่อผลิตโคนมและน้ำนมดิบ
การผลิตน้ำนมดิบ หมายถึง การผลิตนมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นมที่บริสุทธิ์ คุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภค และสามารถทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร
4. องค์ประกอบของฟาร์มโคนม
4.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์มโคนม
4.1.1 อยู่บริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก
4.1.2 สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม
4.1.3 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์
4.1.4 อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอ
4.1.5 ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1.6 เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
4.1.7 เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์มโคนมและแปลงหญ้าพอสมควร
4.2 ลักษณะของฟาร์มโคนม
4.2.1 เนื้อที่ของฟาร์มโคนม
ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของ โรงเรือน และการอยู่อาศัยของโคนม
4.2.2 การจัดแบ่งเนื้อที่
ต้องมีเนื้อที่กว้างเพียงพอสำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ
สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วนโดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
4.2.4 บ้านพักอาศัยและอาการสำนักงาน
อยู่ในบริเวณอาศัย โดยเฉพาะไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรง สะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนดอย่างชัดเจน
4.2.5 ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณเลี้ยงโคนม
4.3 ลักษณะโรงเรือน
โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงโคนมควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนโคนมที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะและอยู่สุขสบาย
- การจัดการฟาร์ม
5.1 การจัดการโรงเรือน
5.1.1 โรงเรือน และที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
5.1.2 โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.1.3 ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
5.1.4 มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามความเหมาะสม
5.1.5 มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำโคเข้าเลี้ยง
5.2 การจัดการด้านบุคลากร
5.2.1 ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ภายในฟาร์ม โดยสัตวแพทย์ต้องมี
ใบอนุญาตประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มโคนมจาก
กรมปศุสัตว์
5.2.2 ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มโคนมทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
5.3 คู่มือการจัดการฟาร์ม
ผู้ประกอบการฟาร์มโคนมต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยง การจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์มโคนม
5.4 ระบบการบันทึกข้อมูล
ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
5.4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
5.4.2 ข้อมูลจัดการผลิตได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต
5.5 การจัดการด้านอาหารสัตว์
5.5.1 คุณภาพอาหารสัตว์
– แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
– ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ยหรือวัตถุอื่นๆ ใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์
– การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
5.2.2 การเก็บรักษาอาหารสัตว์
ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
- การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
6.1 ฟาร์มโคนมจะต้องมีระบบเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม
6.2 การบำบัดโรค
- การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
- การใช้ยาสัตว์ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงขยะ ต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง หรือ สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
7.1 ขยะมูลฝอย
ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์กรท้องถิ่น
7.2 ซากสัตว์ ทำการกลบฝังหรือทำลาย
7.3 มูลสัตว์
นำไปทำเป็นปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ย โดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
7.4 น้ำเสีย
ฟาร์มโคนมจะต้องจัดให้มีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้น้ำทิ้งที่ระบายออกนอกฟาร์ม จะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด
- การผลิตน้ำนมดิบ
8.1 ตัวแม่โคให้นม
ฟาร์มโคนมต้องมีการเตรียมตัวแม่โคก่อนทำการรีดนม ให้สะอาด และไม่เครียด ก่อนการรีดนม
8.2 การรีดนมโค
ฟาร์มโคนมควรมีการทดสอบความผิดปกติของน้ำนมก่อนรีดนมลงถังรวม การรีดนมโค ควรให้ถูกต้องตามหลักวิธีของการรีดนมด้วยมือ หรือด้วยเครื่องรีดนม และมีการปฏิบัติต่อเต้านมโค และน้ำนมที่ผิดปกติ ตามหลักคำแนะนำของสัตวแพทย์
- การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำนมดิบ
9.1 สำหรับเกษตรกร
ฟาร์มโคนมควรต้องรีบขนส่งน้ำนมที่รีดได้ ไปยังถังรวมนมของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบให้เร็วที่สุดและหลังจากส่งน้ำนมแล้วควรทำความสะอาดถังรวมนมของฟาร์มโดยเร็ว ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไปได้สะดวก
9.2 สำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ
ควรมีระบบทำความเย็นน้ำนมดิบก่อนรวมในถังนมรวมของศูนย์รวบรวมน้ำนม และควรทำความสะอาดอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนมทั้งหมด ตามหลักวิธีที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนมได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
9.3 คุณภาพน้ำนมดิบ
คุณภาพน้ำนมดิบโดยรวมของฟาร์มโคนม ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 26 พ.ศ. 2522 และ/ หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนมสด (มอก. 738-2530)
กฎ/ ข้อบังคับอื่นๆ ทางกฎหมาย
- ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)
- พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
- มาตรฐานคุณภาพน้ำใช้
- พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2522)
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนมสด (มอก. 738-2530)
2. การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
ยาสัตว์ในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ หมายถึง ยาสัตว์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- ยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
- ยาที่ผสมอยู่ในอาหารสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- ยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้สำหรับสัตว์ที่จัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2522 ยาหมายความถึง ยาสำเร็จรูปและเคมีภัณฑ์ที่นำมาใช้สำหรับสัตว์ ผู้ที่ประสงค์จะผลิตหรือ ขาย หรือ นำ หรือ สั่งยาสำเร็จรูปหรือเคมีภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะต้องได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจากกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วจึงจะผลิต หรือขาย หรือสั่งนำเข้าประเทศได้ และหากพบว่ายานั้นอาจจะไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขจะมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาได้ แต่กรณีที่ต้องการผลิต นำ หรือสั่งเภสัชเคมีภัณฑ์ ไม่ต้องนำไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างถูกต้อง จะต้องมีฉลากและเอกสารกำกับยา และที่ฉลากจะแสดงเลขทะเบียนยาที่ได้รับอนุญาตเป็นเลขรหัสไว้ด้วย ผู้ใช้ยาจะต้องอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้ละเอียดและใช้ยาตามสรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ และ ข้อแนะนำในการปฏิบัติ ตลอดจนอ่านรายละเอียดของข้อควรระวังและคำเตือนตามด้วย
นอกจากนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2530) ที่เกี่ยวข้องกับยาสัตว์ เรื่องวัตถุที่ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยา มีดังนี้ วัตถุที่ได้รับยกเว้นไม่เป็นยาซึ่งประกาศให้วัตถุที่อยู่ในสภาพของสารผสมล่วงหน้า (พรีมิกซ์) ที่มีความมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ และต้องไม่แสดงสรรพคุณเป็นยา ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยา
3. ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์
มาตรฐานสากล
1. Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)
เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอาหาร ซึ่งประกอบด้วยการวินิจฉัยและประเมินอันตรายของอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างระบบการควบคุม เพื่อขจัดหรือลดสาเหตุที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย
อันตรายที่เกิดขึ้นสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- อันตรายชีวภาพ (Biological Hazard) ได้แก่อันตรายที่เกิดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในอาหาร
- อันตรายเคมี (Chemical Hazard) ได้แก่อันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมีเติมลงไปในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การใช้ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูก การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ การใช้สารเคมีเพื่อช่วยในการผลิต เช่น การใส่สี การเติมสารกันบูด การเติมสารกันหืน นอกจากนี้ยังอาจเกิดการปนเปื้อนจากน้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าเชื้อ และ สารเคมีที่ใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นต้น
- อันตรายกายภาพ (Physical Hazard) ได้แก่อันตรายจากการปนเปื้อนของวัตถุหรือวัสดุที่ไม่ใช่องค์ประกอบของอาหารและเป็นสิ่งแปลกปลอมในอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น เศษแก้ว หิน เศษไม้ โลหะ เป็นต้น
นอกจากนี้การวิเคราะห์อันตรายยังถือเป็นจุดสำคัญที่สุดจุดหนึ่งในกระบวนการของ HACCP ซึ่งจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ดังนี้
- โอกาสที่จะเกิดอันตรายและความรุนแรงของผลเสียที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อสุขภาพ
- การประเมินผลเชิงคุณภาพและ/ หรือเชิงปริมาณของการเกิดอันตราย
- การลดชีวิตหรือการเพิ่มจำนวนประชากรของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้อง
- การผลิตหรือความคงทนอยู่ในอาหารของสารพิษที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต วัตถุเคมีและกายภาพ
- สภาวะที่เอื้ออำนวยให้เกิดปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ตัวอย่างที่นำมาใช้ เช่น ในโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ เป็นต้น
ชนิดผลิตภัณฑ์ | Pre – HACCP (%) | Post – HACCP(%) |
เนื้อไก่กระทง | 20.0 | 10.9 |
เนื้อสุกร | 8,7 | 4.4 |
เนื้อวัวบด | 7.5 | 5.8 |
เนื้อไก่งวงบด | 49.9 | 34.6 |
ที่มา: www.fsis.usda.gov/oa/bub/fsisact2000.htm
2. International Organization for Standardization (ISO)
เป็นข้อตกลงในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือให้เกิดระบบมาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปในอนาคต ระบบนี้แยกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
2.1. มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ ISO 9000 series
มีจุดประสงค์หลักในการจัดการระบบในองค์กร ทำให้การบริหารงานมีคุณภาพ มีการทบทวนและปรับปรุง
คุณภาพบนพื้นฐานความพอใจของลูกค้า ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในผู้ประกอบการและผู้ให้บริการต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจร้านค้า และหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ มาตรการนี้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการค้าและสร้างความยอมรับร่วมกันในการซื้อขาย
2.2. มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14000 series
มีจุดประสงค์หลักในการผลิตสินค้าและแสวงหากระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดความสิ้นเปลืองของการใช้พลังงานและทรัพยากร และการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้เท่าที่ทำได้ มาตรฐานนี้ไม่ได้มีการบังคับใช้ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้ปฏิบัติเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า
2.3. มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย หรือ ISO 18000 series
มีจุดประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ โดยประเมินความเสี่ยงในการทำงานและหาวิธีป้องกันอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ไม่ได้มีการบังคับใช้ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้ปฏิบัติเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าเช่นกัน เช่น กีดกันสินค้าที่มาจากโรงงานที่ไม่ได้ก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน ใช้แรงงานเด็ก ไม่มีระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น
3. Agreement on Sanitary and Phytosanitary Measure (SPS Agreement)
เป็นข้อตกลงทางการค้าในรอบอุรุกวัยของ General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) และได้จัดตั้งองค์กรค้าของโลกหรือ World Trade Organizaion ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์คือ
- เพื่อคุ้มครองชีวิตของคนและสัตว์จากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของ Additives, Contaminants, Toxins หรือ โรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร
- เพื่อคุ้มครองชีวิตคน จากพืชและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
- เพื่อคุ้มครองชีวิตสัตว์และพืชจากโรคระบาดหรือโรคที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นสาเหตุ
- เพื่อป้องกันหรือลดความสูญเสียที่เกิดจากการนำเข้าซึ่งสัตว์และพืชจากต่างประเทศที่มีโรคระบาดอยู่
ข้อตกลงนี้ไม่ครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพของสัตว์ แต่เน้นความรับผิดชอบเฉพาะความปลอดภัยของอาหารและมาตรการป้องกันสุขภาพของสัตว์และพืชที่มีผลกระทบต่อการค้าเท่านั้น
4. Total Quality Management
เป็นระบบที่วัตถุประสงค์หลัก 7 ประการ คือ
- ระบบการนำ (Leadership System)
- ธรรมวิธี (The Guiding Principles)
- แนวคิด (The Concepts)
- ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
- เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ (Tools and Techniques)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)
- การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Research and Developments)
เป็นระบบบริหารบุคคลทุกระดับ ในทุกขั้นตอนการผลิต ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพและการส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
5. มาตรการด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Welfare)
เป็นมาตรการที่มุ้งเน้นด้านการคุ้มครองสัตว์ให้มีความเป็นอยู่ปกติ ปราศจากการรบกวน ทรมานหรือทารุณสัตว์ ตั้งแต่การเลี้ยงดูไปจนถึงส่งสัตว์เข้าโรงฆ่าสัตว์ เช่น กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์ ไม่เลี้ยงสัตว์หนาแน่นเกินไป มีการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานที่เลี้ยงสัตว์ เช่น อุณหภูมิ การระบายอากาศ ตลอดจนให้แสงสว่างตามที่สัตว์แต่ละชนิดต้องการ มีอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำอย่างพอเพียง ไม่ปล่อยสัตว์ให้ขาดอาหาร มีการป้องกันและรักษาเมื่อสัตว์บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย มีการเคลื่อนย้ายขนส่งสัตว์โดยไม่ทรมานสัตว์ มีการฆ่าสัตว์โดยไม่ทารุณและทรมาน
6. มาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบดัดแปลงทางพันธุกรรม (Genetically modified organisms หรือ GMOs)
เป็นมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางชีวภาพในด้านอาหาร ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ จะเกี่ยวข้องกับ
โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะมีข้อกำหนดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม เช่น กาก
ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ ที่อาจมีผลตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดให้มีส่วนประกอบที่เป็น
วัตถุดิบ GMO ได้ไม่เกิน 1-5 % ขึ้นกับความเข้มงวดของแต่ละประเทศ