1. มดลูกทะลัก อาการนี้จะส่งผลอันตรายกับแม่โค เพราะหากมดลูกทะลักออกมาแล้วจะไม่สามารถกลับเข้าไปได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นหากทำได้ต้องนำมดลูกที่ทะลักออกมาล้างด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ ให้สะอาด หากมดลูกพองตัวมาก ควรใช้น้ำตาลทรายขาวโรยบนมดลูก เพื่อให้ดูดของเหลงภายในมดลูกออกและทำให้ขนาดมดลูกเล็กลง จากนั้นจะสามารถดันกลับเข้าช่องคลอดได้เช่นเดิม จากนั้นจึงใช้น้ำเกลือราว 10 ลิตร ใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อทำความสะอาดอีกครั้ง ส่วนน้ำเกลือที่เข้าไปจะนำออกด้วยวิธีการใช้ท่อสายยางดูดออกแล้วใส่ยาปฏิชีวนะเข้าไปในมดลูดเพื่อกันมดลูกอักเสบ อาการนี้เกิดจากแม่โคขาดแคลเซียม
2. รกค้างตามปกติหรือรกไม่ออก ซึ่งรกจะถูกขับออกมาหลังจากคลอดลูกแล้ว 2-6 ชั่วโมง หากนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง รกไม่หลุดออกมาแสดงว่าผิดปกติ หากพบปัญหานี้ควรให้สัตวแพทย์ทำการล้วงเอารกออกมา
3. ไข้นม หากพบแม่โคนอนหงายและเอาหัวทิ่มส่วนหลัง แสดงว่าแม่โคขาดแคลเซียมเนื่องจากให้น้ำนมมากเกินไป จึงควรฉีดแคลเซียมกลูโคเนตแก่แม่โค
4. ลูกไม่ดูดนม เนื่องจากแม่โคคลอดลูกใหม่จะทำให้นมเต่งตึงมาก และส่งผลให้เต้านมขยายและลูกโคดูดนมไม่ได้ หรือบางทีแม่โคอาจหัวนมอุดตัน ผู้เลี้ยงต้องรีดนมให้สิ่งอุดตันนั้นออกมาให้ได้
5. นมคัด เนื่องจากลูกโคดูดนมไม่ทัน ทำให้นมคัด วิธีแก้คือเกษตรกรต้องรีดนมออก เพื่อป้องกันแม่โคปวดบริเวณเต้านม จนอักเสบได้
6. แม่โคไม่ยอมให้ลูกกินนม มักเกิดจากเต้านมอักเสบและเจ็บหัวนม อาจแก้ด้วยวิธี ผูกขาแม่โคให้ยืนอยู่กับที่ จับลูกโคให้กินนม และควรรักษาแม่โคให้หายจากอาการดังกล่าวด้วย หากแก้ไม่ทัน ควรให้ลูกโคไปกินนมแม่ตัวอื่นก่อน และนำลูกโคกลับมากินนมแม่โคตัวจริงอีกครั้ง ก่อนที่จะนานจนแม่โคลืมลูกได้
7. อาจต้องใช้วิธีจับขัง หรือล่ามไว้ด้วยกัน หากยังแก้ไขไม่ได้ต้องนำลูกโคไปให้แม่โคตัวอื่นเลี้ยงต่อไป