อาหารและการจัดการอาหารถือเป็นปัจจัยหลักที่นับได้ว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้ สำหรับการเลี้ยงไก่แจ้ เพราะหากไก่แจ้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของร่างกายแล้วนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต โดยอาหารมีการแบ่งได้เป็น 6 ประเภทคือ
1. คาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะให้พลังงานสำหรับการดำรงชีวิตและการผลิตต่าง ๆ แก่ร่างกาย สิ่งที่ไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารไก่คือ รำหยาบ เพราะมีกากมากเกินไป แต่สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่หาได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่มีอยู่ในอาหารชนิดนั้นมากคือ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง รำ เป็นต้น
2. ไขมัน ไขมันจะให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรตถึง 2 เท่า และยังมีกรดที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของสัตว์อีกด้วย ในเมล็ดพืชจะมีไขมันที่สัตว์ต้องการอยู่ แหล่งไขมันที่หาได้มากคือ มันหมู ไขมันวัว หรือน้ำมันพืชต่าง ๆ
3. โปรตีน คือสารอาหารที่นำไปสร้างกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมไปถึงไข่ ด้วย โดยปกติแล้วอาหารแต่ละสูตรจะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 15-25% แหล่งของโปรตีนหาได้จากพืชและสัตว์ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิงสง เมล็ดฝ้าย ปลา และเนื้อสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น
4. วิตามิน คือส่วนที่สัตว์ต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ถือว่ามีความจำเป็นเช่นกัน ซึ่งแหล่งของวิตามินนั้นจะหาได้จากธรรมชาติดังต่อไปนี้ คือ
5. แร่ธาตุ สัตว์ปีกมีความต้องการแร่ธาตุตลอดเวลา เพื่อนำไปสร้างกระดูก และสร้างร่างกายให้เติบโต หรือนำไปชดเชยในยามที่ร่างกายขาดไปยามที่ขับถ่าย หรือการออกไข่ แหล่งของแร่ธาตุได้แก่ กระดูกป่น เปลือกหอย เกลือ
6. น้ำ เป็นอีกสิ่งที่สำคัญสำหรับไก่แจ้เช่นกัน เพราะไก่แจ้จะขาดน้ำไม่ได้ หากเมื่อใดที่ร่างกายขาดน้ำจะทำให้ไม่ยอมกินอาหาร ในร่างกายของไกแจ้จะมีน้ำอยู่ในร่างกายประมาณ 70-80 % ไก่แจ้มีความเปราะบาง ดังนั้นน้ำที่ให้ต้องมีความสะอาด และภาชนะที่ใส่ก็ควรล้างเป็นประจำทุกวัน แล้วใส่น้ำสะอาดทิ้งไว้ตั้งให้กินทุกวัน และหากมีการเปิดไฟไว้ตลอดคืน ก็ควรมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
อาหารที่เหมาะสม
สมัยก่อนอาหารของไก่จะได้แก่ หนอน เมล็ดพืช แมลง ทาก และผักใบเขียว ซึ่งมีโภชนาการครบถ้วน ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ และยังต้องการการคุ้ยเขึ่ยบ้างตามสมควร หากมีการจัดสรรให้ไก่สม่ำเสมอ ไก่ก็จะมีการจัดแผนโภชนาการของมันเองด้วย นอกจากนี้อาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดก็สามารถนำมาเลี้ยงไก่ได้เช่นกัน
กฎเกณฑ์การให้อาหารไก่แจ้
อาหารสำเร็จรูปต้องตรวจเช็คให้ดี ไม่หมดอายุ น้ำต้องสะอาดบริสุทธิ์และไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อาหารต้องเก็บให้ดีมีอากาศถ่ายเท และไม่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกที่จะปะปนได้ การสังเกตุในการเลี้ยงก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเมื่อใดที่ไก่กินอาหารหมดไม่หลงเหลือในภาชนะอยู่หลายมื้อก็ต้องมีการเพิ่มอาหารให้ไก่ด้วยเช่นกัน แต่ไก่มักจะต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว หากต้องการเพิ่ม หรือเปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ก็ควรใช้ความรอบคอบ ไม่ควรเปลี่ยนเลยทั้งหมด แต่อาจใช้วิธีผสมลงไปในอัตราอาหารเดิม 3 ส่วน และอาหารใหม่ 1 ส่วน เพื่อให้ไก่ได้ปรับตัวกับอาหารใหม่ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาททั้งหมด หากเลี้ยงไก่จำนวนไม่มากก็อาจไม่จำเป็นต้องบังคับหรือเปลี่ยนแปลงสูตรตามใจผู้เลี้ยงแต่ควรเลี้ยงตามใจไก่มากกว่า
อาหารสำหรับลูกไก่
หลังจากที่ไก่ฟักเป็นตัวได้ประมาณ 24 ชั่วโมงนั้น ระยะนี้เราไม่จำเป็นต้องให้อาหารแก่ลูกไก่ เพราะมันจะยังคงกินไข่แดงที่ยังคงหลงเหลืออยู่ แต่ควรช่วยให้ไก่ได้อยู่อย่างเงียบสงบและมีความอบอุ่นเพียงพอมากกว่าการให้อาหาร หากไม่ทราบก็สามารถสังเกตุถึงการจิกเศษฟางหรือสิ่งอื่น ๆ รอบตัวได้ แสดงว่ามันเริ่มต้องการอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องจดจำคือลูกไก่ไม่ได้ฟักพร้อมกันทั้งหมด แต่จะฟักห่างกันประมาณ 2 วัน ดังนั้นการให้อาหารก็ต้องมีการให้ที่แตกต่างกันด้วย และก่อนที่จะทำการให้อาหาร ควรให้น้ำอุ่นสำหรับให้ไก่ได้ดื่มกินเสียก่อน และสังเกตุดูด้วยว่ามันมีการดื่มเข้าไปหรือไม่ด้วยการสังเกตุจากมันจะเชิดหน้าขึ้น นั่นแสดงว่ามันได้ดื่มน้ำเข้าไปแล้ว หากตัวใดที่ยังไม่รู้จักวิธีการดื่มน้ำ ก็ต้องสอนด้วยการนำมาจิก ณ ที่ภาชนะที่เตรียมไว้ด้วยจงอยปากของมัน และสังเกตุการดื่มเช่นกัน
อาหารที่ให้ลูกไก่นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีซื้ออาหารสำเร็จรูปมาให้ไก่อาจมีทั้งชนิดเม็ดเล็ก และชนิดที่จะต้องบดละเอียดเพื่อให้ไก่กินตั้งแต่แรกเกิดจน 3 สัปดาห์ การบดอาจบดด้วยเครื่องบดกาแฟก็ได้ ส่วนไก่ที่มีอายุตั้งแต่ 8-12 สัปดาห์นั้นควรเน้นอาหารที่มียาปฏฺิชีวนะผสมลงไปด้วย
หากพอมีต้นทุนสักนิด ทางผู้เขียนอยากแนะนำให้ซื้ออาหารสำเร็จรูปแบบพิเศษที่ทำขึ้นสำหรับไก่ฟ้าโดยเฉพาะ อาหารประเภทนี้มี 2 แบบ คืออาหารที่สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ และตั้งแต่ 3-9 สัปดาห์ ส่วนผสมนี้จะเป็นอาหารสำหรับไก่ฟ้าผสมกับอาหารลูกไก่บดละเอียดและข้าวโอ๊ต หลังจาก 2 สัปดาห์เป็นต้นไป จึงเติมอาหารสำหรับไก่ฟ้า หรืออาหารสำหรับนก ผสมเพิ่มเข้าไป ผักใบเขียวสามารถให้ได้ตั้งแต่ วันที่ 4 เป็นต้นไป ผักใบนิ่ม หรือหญ้าสับละเอียด อาจทำมุมใดมุมหนึ่งบนสนามหญ้าไว้เพื่อโรยเมล็ดพันธุ์ลงไว้ซักหน่อย คอยตัดเล็มบ่อย ๆ ให้แตกใบอ่อน จะเป็นการดีในระยะยาวหากทำได้
เมื่อไก่อายุได้ 2 สัปดาห์ ก็สามารถให้กะหล่ำปลีสับละเอียด และเมื่อ 2 สัปดาห์ผ่านไปก็ให้กรวดสำหรับลูกไก่ กรวดนี้จะใส่ในจานแยกต่างหาก ควรเพิ่มแร่ธาตุ และวิตามินเพิ่มเข้าไปด้วย และหมั่นโรยให้ไก่ตลอดเวลา ในระหว่าง 2 สัปดาห์ลูกไก่จะมีความต้องการอาหาร ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ส่วนการให้น้ำแต่ละครั้งต้องให้ทุก ๆ 10 นาที ถ้าอยู่ใกล้ชิดกับลูกไก่ ไก่เป็นสัตว์ที่มีการดำรงชีวิตในเวลากลางวัน จึงจำเป็นต้องให้อาหารเป็นเวลา และเวลาของการให้อาหารก็จะยืดออกห่างไปตามแต่อายุของไก่ จากเคยให้เป็น 2 ชั่วโมง ก็ค่อยเปลี่ยเป็น 3 ชั่วโมง
อาหารสำหรับไก่รุ่น
ไก่กระทงและไก่สาวต้องได้รับอาหารที่ทำขึ้นมาพิเศษในช่วงอายุสัปดาห์ที่เก้าเป็นต้นไป และเมื่อเริ่มสัปดาห์ที่ 12 เป็นต้นไปควรผสมเมล็ดพืชและกรวดเข้าไปในอาหารให้ไก่ด้วย และหากจะทำการผสมสูตรอาหารเองนั้นควรคำนึงอยากมากที่จะต้องเลือกเมล็ดข้าวที่ไม่ขัดสีและต้องมีปลายข้าวหลงเหลืออยู่ หากใช้แบบที่ขัดสีแล้วและไม่มีปลายข้าวเหลืออยู่ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของไก่อย่างรุนแรงได้ แต่สามารถใช้อาหารไก่ฟ้ามาผสมเมล็ดธัญพืชลงไปก็ได้ เมื่ออายุไก่เข้ามาถึงสัปดาห์ที่ 20-24 ก็สามารถเลือกใช้อาหารสำหรับไก่โตแบบสมบูรณ์ได้ และนอกจากโปรตีนที่มีอยู่ในอาหารไก่แล้ว อาจต้องเสริมด้วยเศษเนื้อให้ไก่บ้าง
ไก่รุ่นที่กำลังเติบโตนั้นก็ต้องการ พืชผักและอาหารเสริมเช่นเดียวกับลูกไก่ อาจให้เป็นผักใบเขียวต่าง ๆ เศษผักอื่นที่เหลือใช้ กรวดทรายจำเป็นมากต้องให้ตลอด และที่เหลืออาจเพิ่มเป็นแร่ธาตุ ลิ้นปลาหมึกป่นก็เป็นแร่ธาตุที่ดีเช่นกัน
อาหารสำหรับไก่โต
ไก่โตก็มีความต้องการเหมือนไก่รุ่น การให้อาหารในฤดูหนาวอานโรยให้ตามเศษฟาง นอกจากนี้จะมีการเพิ่มข้าวสำหรับเลี้ยงนกเข้าไปด้วย หรืออาจใช้น้ำมันสลัด หรือน้ำมันละหุ่งผสมเข้ากับอาหารก็ได้ เพราะจะให้พลังงานแก่ไก่ได้เป็นอย่างดีในช่วงฤดูหนาว อาหารต้องเตรียมสดใหม่ หากไก่กินเหลือควรทิ้งไป อย่าเก็บไว้แล้วนำมาให้ไก่กินอีก
อาหารเหล่านี้ อาจตระเตรียมได้ด้วยการซื้อมาเก็บตุนไว้เช่น ผักสด เมล็ดข้าวเหมาะที่จะปลูกลงลานหรือกระบะก้นตื้น ในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว ซึ่งสามารถยกมาให้ไก่จิกกินและรอให้แตกใบอ่อนในรุ่นต่อไปได้อีก วิตามินต่าง ๆ สำคัญต่อไก่ ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูหนาว ฟักไข่ หรือช่วงผลัดขนก็ควรใส่วิตามินเพิ่มลงไปในน้ำให้ไก่กินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเมื่อใช้แล้วจะสามารถใช้ได้เมื่อผสมน้ำไปเพียง 24 ชั่วโมง หากเกินกว่านั้นควรเทน้ำที่ผสมวิตามินนั้นทิ้งไป
การกะส่วนอาหารและน้ำ
การให้อาหารไก่ต้องมีการให้โดยเปลี่ยนไปตาม พันธุ์ ชนิด อายุ ระดับการเจริญเติบโต การผลัดขน อุณภูมิและสภาพแวดล้อม วิธีเลี้ยง สถานที่เลี้ยงก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการกินอาหารของไก่เช่นกัน จะมากน้อย หรือไม่กินเลย ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นด้วย หลักโดยทั่วไปของการให้น้ำคือต้องให้มากเป็น 2 เท่าของปริมาณอาหาร และก็ขึ้นอยู่กับอุณภูมิและเมื่ออาหารมีโปรตีนมาก ความต้องการน้ำของไก่ก็จะมากไปด้วย แต่หากให้อาหารประเภทพืชผักมาก ก็จะทำให้ไก่มีความต้องการน้ำน้อยลงไปด้วย